เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคตับ

  • 2 September 2015

    ความสำคัญของการลดน้ำหนักด้วยวิธีใดก็ตาม อยู่ที่เมื่อลดแล้ว สามารถรักษาระดับน้ำหนักให้คงที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีวิถีชีวิต และการรับประทานอาหารอย่างเป็นปกติสุข ผู้เขียนเป็นทั้งผู้ประสบปัญหาเอง ใฝ่หาวิธีการต่าง ๆ ทดลองด้วยตนเอง ปรับวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวัน และได้มีโอกาสสอนวิธีการเหล่านั้นกับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ประสบปัญหาโรคไขมันตับ

    อ่านต่อ →

  • 15 March 2016

    ไวรัสตับอักเสบอี (E) โดย ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ โรคตับอักเสบ ในปัจจุบันมีชื่อเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ โรคตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และ อี เราคุ้นเคยกับโรคตับอักเสบเอ บี ซี กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตับอักเสบดี พบได้น้อยในประเทศไทย โดยพบได้เฉพาะผู้ที่ติดยาเสพติดชนิดฉีด และมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ร่วมอยู่ด้วย สำหรับโรคตับอักเสบอีไม่ใช่โรคใหม่ แต่มีมานานแล้วรวมทั้งในประเทศไทยด้วย

    อ่านต่อ →

  • 9 February 2016

    ไวรัสตับอักเสบบี จากชื่อก็สามารถเข้าใจได้แล้วว่าเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ในประเทศไทยพบคนไข้ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังเกิน 6 เดือนหรือเรียกว่าพาหะของไวรัสตับอักเสบบี พบประมาณ 2 - 3 คนใน 100 คน เรียกได้ว่าไม่น้อยเลยและเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อไวรัสบีมาจากมารดาตั้งแต่เป็นทารก ตอนเด็กนั้นภูมิต้านทานที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสยังอ่อนแอ จึงพ่ายแพ้ให้กับไวรัสบีจนทำให้ไวรัสอยู่ร่วมกับตัวเราจนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วค่อย ๆกัดกร่อนตับ เกิดตับอักเสบเรื้อรังไปทีละเล็กละน้อยจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

    อ่านต่อ →

  • 14 December 2015

    คำว่า “ตับอักเสบ” ก็แปลว่ามีการอักเสบขึ้นบริเวณเนื้อตับ เหมือนขอบแผล บริเวณที่ถูกมีดบาด แต่ไปบวม แดง ร้อนอยู่ในตับที่เรามองจากภายนอกไม่เห็น แถมตับของเราถูกธรรมชาติสร้างขึ้น แต่ลืมใส่เส้นประสาทรับความเจ็บเอาไว้ ในเนื้อตับ จะรับความรู้สึกเจ็บปวดได้ก็แค่บริเวณผิวเยื่อหุ้มตับโดยรอบ ฉะนั้น การอักเสบในเนื้อตับจึงมักไม่แสดงอาการปวดหรือเจ็บ ไม่ออกร้อน ไม่เห็นว่ามีสีแดง เพิ่มขึ้นเพราะอยู่ภายในช่องท้อง

    อ่านต่อ →

  • 1 September 2015

    คุณลุงสมศักดิ์ อายุร่วม 70 ปีเศษ ญาติพาหอบหิ้วมาจากเมืองกาญจน์หลังจากตระเวนรักษามาร่วมสองอาทิตย์ แต่เดิมแข็งแรง ออกไปทำสวนปลูกต้นไม้ได้ทุกวัน เริ่มด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ได้ นอนโรงพยาบาลอยู่ร่วมอาทิตย์ แพทย์พบว่าคุณลุงมีตับอักเสบ ค่าการอักเสบของตับ (SGPT) ขึ้นไปสามพันกว่า ตาเหลือง ตัวเหลือง อาทิตย์หลังยิ่งเหลืองมากขึ้น ค่าความเหลือง(บิลิรูบิน) ขึ้นไปสามสิบกว่าเท่าของค่าปกติ ญาติพี่น้องหายาพื้นบ้านมาให้ทานแก้โรคตับ เป็นมะรุมแคปซูลวันละหลายเม็ด แต่อาการไม่ดีขึ้น จนบัดนี้ยังหาตัวการของโรคไม่พบ ทั้งไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี ตรวจจนหมดก็ไม่มี ญาติตัดสินใจพาเข้ากรุง ตามล่าหาหมอตับไปช่วยจับจำเลย

    อ่านต่อ →

  • 1 September 2015

    คุณสมใจ อายุสามสิบตน้ ๆ ตัวเล็กปุม้ ปุย้ ปุก๊ ลุก ไปเยี่ยมเพื่อนที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ตอนทานข้าวเที่ยงเสร็จ เดินออกมาเห็นโฆษณาชักชวนให้ไปตรวจพังผืดตับด้วยราคาพิเศษ อ้า! ลดราคา ของชอบเลย หายเข้าไปในห้องตรวจนานครึ่งชั่วโมง เดินออกมาซึมกะทือ หยุดคุยกับเพื่อนฝูงไปสามวัน เหตุเพราะหมอแจ้งว่า“คุณมีตับแข็งนะ แข็งมากเลย ค่าที่วัดออกมาตั้ง 13 แน่ะ” นั่นสินะ หมอพูดอะไร ก็ไม่รู้ แต่ฟังแล้วดิฉันแข็งทื่อไปทั้งตัว “ตับแข็งตั้งสิบสามแน่ะ”

    อ่านต่อ →

  • 1 September 2015

    คุณสมหญิง อายุขัยย่างกรายเข้าเลขสี่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เธอเป็นคนแข็งแรงสุขภาพดีมาตลอด เธอให้ของขวัญวันเกิดกับตัวเองด้วยการไปตรวจสุขภาพประจำปีเป็นครั้งแรก วันนั้นเธอเดินออกจากห้องตรวจอัลตราซาวนด์ด้วยสีหน้าเคร่งเครียดบอกบุญไม่รับ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ได้ความว่าพบก้อนเนื้อในตับขนาด2 เซนติเมตร เป็นใครก็คงคิดมาก เพราะไม่เคยรู้มาก่อน พอรู้เข้าคงมีคำถามในใจมากมายประดังเข้ามา ลองดูกันว่าคุณสมหญิงจะทำอย่างไรต่อ

    อ่านต่อ →

  • 31 August 2015

    ตาเหลืองตัวเหลือง เป็นอาการของโรคตับที่คนส่วนมากจะรู้จัก บางครั้งจะใช้คำเรียกว่า “โรคดีซ่าน” คำว่า “โรค” ที่ใช้เป็นคำนำหน้านี้เอง เป็นคำที่สร้างความสับสนจนหลายท่านมักจะเข้าใจว่า “ดีซ่าน” เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่จริงแล้วดีซ่านเป็นเพียงอาการตาเหลือง ตัวเหลือง

    อ่านต่อ →

  • 31 August 2015

    ปัจจุบันหลายท่านที่อ่านหนังสือเล่มนี้คงเป็นคนที่รักการดูแลสุขภาพ จึงไปตรวจร่างกายประจำปีเป็นประจำ เมื่อตรวจเลือดแล้วพบค่าตับผิดปกติย่อมเกิดความสงสัย หรืออาจจะมีบางท่านยังไม่ได้หยิบขึ้นมาดูด้วยซํ้าว่าค่าการทำงานตับของตนเองเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้

    อ่านต่อ →

  • 25 April 2016

    "ตับคืออะไร อยู่ตรงไหน ทำหน้าที่อะไร" ตับวางตัวอยู่ในช่องท้องทางด้านขวาบน มองจากหน้าไปหลัง รูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ถูกบดบังอยู่ใต้ชายโครง ตับเป็นอวัยวะที่หนักที่สุดในร่างกาย คือหนักประมาณ 1.2 กิโลกรัม ตับมีอันเดียว บางครั้งแพทย์มักจะบอกให้เราเข้าใจง่าย ๆ ว่ามีตับกลีบขวาขนาดใหญ่และกลีบซ้ายขนาดเล็ก ตับเปรียบได้กับโรงงานขนาดใหญ่ เป็นทั้งแหล่งผลิต เป็นโรงแบตเตอรี่สะสมพลังงาน และโรงทำลายขยะ

    อ่านต่อ →

« First ‹ Previous 1 2 3 4 6 Next › Last »