เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคตับ

  • 11 April 2016

    เชื่อว่าทุกคนคงไม่มีใครอยากเป็นมะเร็ง เพราะมะเร็งเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง เป็นแล้วมักหายยาก ต้องทนทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นจากมะเร็งในขณะที่วิธีการรักษาก็มักฟังแล้วน่ากลัว และอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษา ผู้ป่วยเกือบทุกคนเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็ง ก็มักจะมีความรู้สึกราวกับว่าได้ก้าวขาเข้าสู่ประตูปรโลกไปแล้วครึ่งตัว

    อ่านต่อ →

  • 30 March 2016

    หลายท่านคงไม่อยากรู้โรคตับเขาเป็นกันอย่างไร ได้แต่ข่าวว่าน่ากลัว เช่นนั้นก็ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าในรู้ทันโรคตับ 3 นี้ เป็นเนื้อหาของไวรัสสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ติดต่อทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ไวรัสบี ซี และดี กับไวรัสที่ติดต่อทางอาหาร ได้แก่ ไวรัสเอ และอี...

    อ่านต่อ →

  • 8 March 2016

    เชื้อไวรัสตับอักเสบดี หรือไวรัสตับอักเสบเดลต้า (Hepatitis delta virus) เป็นเชื้อไวรัสที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในสัตว์ ที่ใช้คำว่า แอบแฝง ซ่อนเร้น เนื่องจาก ไวรัสชนิดนี้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่เพียงลำพังได้ ต้องแอบแฝงอาศัยอยู่ภายใต้เปลือกของ เชื้อไวรัสบีที่ห่อหุ้มสายพันธุกรรมของไวรัสดีไว้ และเปลือกอันนี้เองที่ช่วยเปิดประตูให้ เชื้อไวรัสดีหลุดรอดเข้าสู่เซลล์ตับได้ ดังนั้นการเกิดตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบดีนั้นผู้ป่วยต้องมีไวรัสบีร่วมด้วยเสมอ

    อ่านต่อ →

  • 1 March 2016

    ถึงเวลานี้ประเทศแถบยุโรปและอเมริกาได้เริ่มนำหน้าบ้านเราและประเทศ แถบเอเชียไปร่วมสองปี การรักษาไวรัสตับอักเสบซีด้วยยากลุ่มใหม่ ๆ หลายตัว ใช้เวลาการรักษาที่สั้นกว่า ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และสามารถทำให้โรคหายได้ ใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จนมีการกล่าวกันว่าไวรัสซีกำลังจะหมดไป ขณะที่ข่าวสารบ้านเรา ในหลายเดือนที่ผ่านมา ทุกคนต่างตกตะลึงกับราคายาชนิดที่ไม่ปรานีใคร เม็ดละสามหมื่นบาท สามเดือนสองล้านกว่าบาท นั่นเป็นราคาที่แปลงมาจากราคา ทางยุโรปและอเมริกา บ้านเราจะเป็นอย่างไรต้องคอยดูตอนต่อไป อย่ากะพริบตา

    อ่านต่อ →

  • 23 February 2016

    ไวรัสตับจะถูกเรียกชื่อไล่เรียงกันจากเอถึงอี ทำให้จำง่าย ไวรัสบี (B) ตั้งชื่อตามแพทย์ผู้คนพบเชื้อเมื่อประมาณห้าสิบปีก่อน (ปี พ.ศ. 2508) คือ นายแพทย์ Baruch Samuel Blumberg หรือ Barry Blumberg ส่วนไวรัสซี (C) ถูกค้นพบทีหลัง โดยบริษัทวิจัยชื่อ Chiron เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ถึงเวลานี้ก็เข้าปีที่ 28 ชื่อเสียง เรียงนามเลยไล่ตามมาจากบีมาถึงซี พอดีกับซีที่มาจากชื่อบริษัทที่ค้นพบเป็นไวรัสซี เป็นไวรัสชนิดสายพันธุกรรมเดี่ยวหรือที่เรียกว่า อาร์เอ็นเอ (RNA) ทั้งไวรัสบี ซี และดี คล้าย ๆ กันตรงที่จะติดต่อทางเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด เข็มฉีดยาที่ใช้ร่วมกับคนที่เป็นโรค และทางเพศสัมพันธ์ ต่างกับไวรัสตับอักเสบเอ และอี ซึ่งติดต่อทางอาหารที่ไม่สุกสะอาด

    อ่านต่อ →

  • 2 February 2016

    ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบในตับ เชื้อตัวนี้เป็นไวรัสดั้งเดิมที่มีการกล่าวไว้ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ มีการบรรยายไว้ ถึงการระบาด โดยผู้ป่วยเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) กันทั้งเมือง ในปัจจุบัน ไวรัสตับอักเสบเอยังเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังขาดแคลนระบบสุขอนามัย ที่ดี โดยมีการระบาดใหญ่หลายครั้งในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยปัจจุบันองค์การ อนามัยโลกมีการประมาณว่าทั่วโลกยังเกิดการติดเชื้อถึงประมาณหนึ่งล้านสี่แสนราย ในแต่ละปี

    อ่านต่อ →

  • 26 January 2016

    "ทราบได้อย่างไรว่ามีตับอักเสบ หรือมีไวรัสตับอักเสบซ่อนอยู่" โดย นพ. ดร. ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ การตรวจเลือดดูว่ามีตับอักเสบหรือไม่ โดยพิจารณาค่าการทำงานตับที่ตรวจจากเลือดนั้นมีหลายตัว แต่ที่ควรทราบสำหรับตับอักเสบก็คือ การตรวจดูระดับ SGOT (หรือใช้คำว่า AST) และ SGPT (หรือใช้คำว่า ALT)

    อ่านต่อ →

  • 4 January 2016

    สำหรับไวรัสตับอักเสบ เพื่อทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น จะขอแบ่งออกเป็น สองประเภทใหญ่ ๆ คือ ไวรัสที่ชอบมาอยู่ที่ตับ มาทำลายตับโดยตรง กับไวรัสที่อยู่ในหลาย ๆ อวัยวะรวมถึงที่ตับด้วย ไวรัสที่ชอบมาอยู่ที่ตับโดยเฉพาะ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ (A) บี (B) ซี (C) ดี (D) อี (E) จี (G) และไวรัสที่ยังไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนาม ไวรัสที่ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือติดจากแม่ไปลูกขณะคลอด ได้แก่ ไวรัสบี ไวรัสซี และไวรัสดี ไวรัสที่ติดต่อทางอาหารที่ไม่สุกสะอาด ได้แก่ ไวรัสเอ และไวรัสอี ไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งได้ ได้แก่ ไวรัสบี ไวรัสซี ไวรัสดี และไวรัสอีในผู้ได้รับยากดภูมิ เช่น หลังการเปลี่ยนตับ ไวรัสที่เป็นแบบสายพันธุกรรมคู่ (DNA) ได้แก่ ไวรัสบี ไวรัสที่เป็นแบบสายพันธุกรรมเดี่ยว (RNA) ได้แก่ ไวรัสเอ ไวรัสซี ไวรัสอี และไวรัสดี

    อ่านต่อ →

  • 28 December 2015

    ตับอักเสบแบบเฉียบพลัน อาการของตับอักเสบกลุ่มนี้ ส่วนมากแล้วไม่มีอาการแจ้งเตือนให้ทราบ คือ ตั้งแต่อักเสบใหม่ ๆ ไปจนหายอักเสบ เจ้าของตับอาจจะไม่ทราบเลยแม้แต่น้อย เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี อี หรือไปทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับมา เป็นต้น การจะทราบได้ว่ามีตับอักเสบ ก็เกิดจากการไปตรวจเลือดดูค่าตับอักเสบพบค่าการอักเสบของตับ (SGOT, SGPT) สูงผิดปกติโดยบังเอิญ ตับอักเสบเรื้อรัง ปัญหาใหญ่ของตับอักเสบเรื้อรังคือ การอักเสบมักจะมาแบบที่เรียกว่า มันแอบกินตับ คล้ายเป็นสนิมกัดกร่อนไปทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป ไม่โฉ่งฉ่างบอก ให้เจ้าของตับรู้หรือตั้งรับได้ทัน จะทราบได้ก็จากการไปตรวจเลือดดูค่าการอักเสบ ของตับ หรือที่เรียกว่า SGOT (AST) และ SGPT (ALT) ว่ามีค่าเกินค่าปกติ (เกิน 40) หรือไปตรวจคัดกรองพบเชื้อไวรัสบี (HBsAg) หรือไวรัสซี (AntiHCV)

    อ่านต่อ →

  • 6 December 2015

    เป็นอวัยวะที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ เพราะตับมีอันเดียว เรามักจะได้ยิน คำพูดที่ว่า ตับด้านขวา ตับด้านซ้าย ที่จริงแล้วมีอยู่หนึ่งตับ มีขนาดใหญ่มาก หนัก ประมาณหนึ่งกิโลกรัมกว่าๆ อยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้ชายโครงด้านขวา ขอบตับ ส่วนล่างยื่นต่ำลงมาเล็กน้อย

    อ่านต่อ →

« First ‹ Previous 1 2 3 4 5 6 Next › Last »